พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)
พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)

พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)

พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ นายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ระดับเสนาธิการและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ โดยพระประศาสน์พิทยายุทธ ถือเป็นทหารเสือที่อาวุโสน้อยที่สุด ด้วยวัยวุฒิ, ยศ และบรรดาศักดิ์พระประศาสน์พิทยายุทธ มีชื่อเดิมว่า วัน ชูถิ่น เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2437 ที่ข้างวัดรังษีสุทธาวาส (ต่อมารวมเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศ) เป็นบุตรชายของ ขุนสุภาไชย บิดาซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี ในปี พ.ศ. 2451 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 สำเร็จการศึกษาออกเป็นนักเรียนทำการนายร้อยในปี พ.ศ. 2454 รับเงินเดือน ๆ ละ 45 บาท ต่อมาสอบได้เป็นที่ 5 ในจำนวนนักเรียนทำการนายร้อยทั้งหมด 185 นาย ที่ทางกระทรวงกลาโหมจัดสอบเพื่อคัดเลือกตัวไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกที่เยอรมนี ซึ่งได้เดินทางไปเยอรมนีด้วยการโดยสารเรือพระที่นั่งจักรีตามเสด็จ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งเสด็จประพาสประเทศจีนและญี่ปุ่น แล้วเดินทางผ่านญี่ปุ่นไปต่อทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ไปยังกรุงมอสโคว์ แล้วต่อรถไฟไปยังกรุงเบอร์ลิน ใช้ระยะเวลาเดินทางหลายสัปดาห์[1] และต่อมาได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมนีแห่งนี้ เช่นเดียวกับนายทหารเสือคนอื่น ๆ ยกเว้น พระยาฤทธิอัคเนย์[2]ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระประศาสน์พิทยายุทธขณะที่ยังมียศร้อยตรี (ร.ต.) ได้เป็นหนึ่งใน 19 นายทหารระดับสูงที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกองทัพไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เรียกว่า "กองทูตศึกสัมพันธมิตร" ที่นำโดย พลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ (ต่อมาคือ พลโท พระยาเทพหัสดิน)[3]พระประศาสน์พิทยายุทธ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบัน) ระหว่างปี พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2476[4] ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระประศาสน์พิทยายุทธ มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการแผนก โรงเรียนเสนาธิการทหารบก มียศเป็น พันโท (พ.ท.) ได้เขียนจดหมายสั่งเสียแก่ภรรยา ก่อนออกจากบ้านของตัวเองมา โดยได้ขับรถไปรับพระยาพหลพลพยุหเสนา ถึงบ้านพัก ไปยังตำบลนัดหมาย คือ บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ ห่างจากบ้านพักของพระยาทรงสุรเดชราว 200 เมตร [5]พร้อมด้วยคีมตัดเหล็กที่พระประศาสน์พิทยายุทธเป็นผู้ซื้อมาเพื่อเตรียมการตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสงอาวุธ ภายในกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.1 รอ.) ที่สี่แยกเกียกกาย พร้อมด้วยพระยาทรงสุรเดช และพระยาพหลพลหยุหเสนา เพื่อหลอกเอากำลังพลทหารและยุทโธปกรณ์เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ลานพระราชวังดุสิต โดยขบวนที่เดินทางไปลานพระราชวังดุสิตนั้น พระประศาสน์พิทยายุทธเป็นผู้ปิดท้าย จากนั้นได้เป็นผู้เข้าทำการควบคุมตัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังบางขุนพรหมและนายทหารคนสนิท พร้อมด้วยครอบครัว เข้ายังพระที่นั่งอนันตสมาคม[6] ซึ่งแผนการในการปฏิวัตินั้น นอกจากพระยาทรงสุรเดชจะเป็นผู้เดียวที่รับรู้แล้ว เนื่องจากเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ก็มีเพียงพระประศาสน์พิทยายุทธ เท่านั้นที่พอทราบ เนื่องจากได้ร่วมวางแผนด้วยในบางส่วน[7] ซึ่งก่อนหน้านี้ พระประศาสน์พิทยายุทธ ก็ได้เดินทางมายังที่กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อดูสถานที่เพื่อเตรียมการไว้ก่อนแล้ว[8] [9]จากนั้น ได้ถูกแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการราษฎร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของไทย ที่มี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร และได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 [10]ภายหลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีประกาศปิดรัฐสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางฉบับ ก่อให้เกิดเป็นความแตกแยกกันเองในหมู่คณะราษฎร พระประศาสน์พิทยายุทธ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง จนกระทั่งถึงวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน จึงได้ลาออก พร้อมกับอีก 2 ทหารเสือ คือ พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิอัคเนย์ ซึ่งต่อกลายเป็นความบาดหมางกันเอง จนเกิดเป็นการรัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน ซึ่งต่อมา ทหารเสือ 2 คนนี้ต้องเดินทางออกไปอาศัยยังต่างประเทศ[11]ในส่วนชีวิตครอบครัว พระประศาสน์พิทยายุทธ สมรสกับ นางประศาสน์พิทยายุทธ (เนาว์ ชูถิ่น) มีบุตรสาว 2 คน[12]หลังเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดช ในปี พ.ศ. 2481 พระประศาสน์พิทยายุทธ ได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำจักรวรรดิไรช์ที่สาม หรือ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2481[13] ในรัฐบาลที่มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยการลงเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นัยว่าเพื่อให้พ้นจากภัยการเมือง จึงย้ายไปอาศัยยังกรุงเบอร์ลิน พร้อมด้วยครอบครัว อันเป็นถิ่นเดิมที่ทางพระประศาสน์พิทยายุทธคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยที่ยังเป็นนักเรียนนายร้อยอยู่ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ความเป็นอยู่ลำบากอย่างยิ่ง ที่แม้แต่บุตรสาวคนโตก็เสียชีวิตจากการถูกระเบิดถล่มบ้านพักที่สถานทูต จนต้องส่งภริยาและบุตรสาวที่เหลือกลับประเทศไทย จวบกระทั่งสิ้นสุดสงครามเมื่อกองทหารของสหภาพโซเวียตบุกเข้ากรุงเบอร์ลิน พระประศาสน์พิทยายุทธถูกทหารโซเวียตควบคุมตัวไปคุมขังยังค่ายกักกันใกล้กรุงมอสโก ที่มีอุณหภูมิหนาวเย็นถึง -40 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานถึง 225 วัน หรือ 7 เดือนครึ่ง จึงได้รับการปล่อยตัว[14]ในช่วงก่อนที่กรุงเบอร์ลินจะแตกนั้น พระประศาสน์พิทยายุทธในฐานะเอกอัครราชทูตไทยประจำจักรวรรดิไรช์ที่สาม ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำของจักรวรรดิไรช์ที่สาม เป็นบุคคลสุดท้าย เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2488 ก่อนที่ฮิตเลอร์จะทำอัตวินิบาตกรรมเพียง 10 วัน โดยได้ลงชื่อของตนในสมุดเยี่ยมของฮิตเลอร์ว่า "ประศาสน์ ชูถิ่น"[15]เมื่อเดินทางกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว พระประศาสน์พิทยายุทธจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในบั้นปลายชีวิตเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490[16]ก่อนจะถึงแก่กรรมลงในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ด้วยโรคตับ เนื่องจากเป็นผู้ติดสุราและดื่มสุราจัด ถึงขนาดหมักผลไม้ไว้ในถังไม้ที่บ้านเพื่อผลิตสุราไว้ดื่มเอง โดยมียศสุดท้ายเป็น พลตรี (พล.ต.) รับพระราชทานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2486 [17]

พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)

คู่สมรส นางประศาสน์พิทยายุทธ (เนาว์ ชูถิ่น)
บุตร 2 คน
เกิด พ.ศ. 2437
บิดามารดา ขุนสุภาไชย
เสียชีวิต 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_... http://www.judprakai.com/life/363 http://www.maneebooks.com/German_capt/germ_02.html http://prachatai.com/journal/2009/06/24895 http://www.naranong.net/history03.html http://www.crma.ac.th/commander_crma/com_crma.html http://www.dailynews.co.th/article/349/117349 http://www.dailynews.co.th/article/349/132980?=4&j... http://www.dailynews.co.th/article/349/134344 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/...